นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวทังกิ ( Treaty of Waitangi ) เมื่อปีพ.ศ. 2353 ซึ่งสัญญาว่าจะให้ complete chieftainship (tiorangatriatanga) แก่ชนเผ่าเมารีของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญยานี้ยังเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความแบ่งแยกและความไม่พอใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นประเทศอิสระที่มีรัฐสภาที่เลือกมาจากระบอบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของเกาะคุก และนิวเอ ซึ่งปกครองตนเอง และปกครองโทเคลาวเป็นเมืองขึ้น และได้ประกาศเอกราชจากราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550
- ภาษาทางราชการ คือ ภาษาอังกฤษ , ภาษาเมารี , New Zealand Sing Language (ภาษามือนิวซีแลนด์)
- พระมหากษัตริย์ คือ The Honourable Dame Silvia Catwright ( สาบานตนและรับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการคนที่ 18 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2544 ) ผู้สำเร็จราชการได้รับการแต่งตั้งจากประมุขของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทำหน้าที่ด้านพิธีในการเปิด และปิดสมัยประชุมรัฐสภา มีตำแหน่งวาระ 5 ปี
- นายกรัฐมนตรี คือ เฮเลน คลาร์ก
- รัฐมนตรีต่างประเทศคือ The Honourable Phil Goff
การแบ่งเขตการปกครอง
ตอนที่เริ่มตั้งถิ่นฐาน นิวซีแลนด์ได้แบ่งเป็นแคว้นต่าๆงซึ่งได้ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2419 เพื่อให้จัดการปกครองแบบศูนย์กลาง เนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้นิวซีแลนด์ไม่มีการแบ่งการปกครองเป็นระดับแคว้น รัฐ หรือ เขต นอกจากรัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ความภูมิใจในระดับแคว้นยังคงมีอยู่ และมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทั้งด้านกีฬาและวัฒนธรรม
ตั้งแต่ พ.ศ. 2419 รัฐบาลท้องถิ่นได้ปกครองภูมิภาคต่าง ๆ ของนิวซีแลนด์ เนื่องจากแต่เดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นของนิวซีแลนด์จึงได้ออกแบบตามโครงสร้างรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ โดยมีสภาท้องถิ่นระดับเมืองโบโร (borough) และ เคาน์ตี (county ) ตามเวลาที่เปลี่ยนไป บางสภาได้รวมกัน หรือเปลี่ยนอาณาเขตตามข้อตกลงร่วมกัน และมีการสร้างสภาแห่งใหม่บางแห่ง ใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลไดจัดรัฐบาลท้องถิ่นใหม่ทั้งหมด เป็นแบบ 2 ระดับ ในปัจจุบัน คือ สถาภูมิภาค (regional councils) และ สภาพื้นที่ (territorial authorites)
ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีสภาภูมิภาค 12 แห่ง สำหรับการปครองเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการขนส่ง และ สภาพื้นที่ 74 แห่งที่ปกครองเรื่อง การสร้างถนน การระบายน้ำเสีย การอนุญาตการก่อสร้าง และเรื่องอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น สภาพื้นที่ 74 แห่งแบ่งเป็นสภาเมือง (city council) 16 แห่ง สภาเขต 57 (district council) แห่ง และสภาหมู่เกาะชาแธม (Chatham Islands Council) สภาพื้นที่ 4 แห่ง (1 เมืองและ 3 เขต) และ สภาหมู่เกาะชาแธมทำหน้าที่เช่นเดียวกับสภาภูมิภาค จึงเรียกว่า unitary authoritiesเขตของพื้นที่ไม่จัดเป็นเขตย่อยของเขตของสภาภูมิภาค และบางพื้นที่มีการคร่อมเขต ของสภาภูมิภาค
อ้างอิง :http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no40/new_zealand/sec02p01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น